กฎหมายกับการทำแท้งในสังคมไทย 

คำถามก็คือว่า ถ้าเป็นกรณีที่นอกเหนือจากเหตุ 2 ข้อนี้  ไม่ว่าจะเป็นการทำแท้งเนื่องจากความไม่พร้อมของฝ่ายหญิง   หรือความไม่พร้อมของฝ่ายชาย   การทำแท้งเนื่องจากความไม่พร้อมทางเศรษฐกิจ คือ ไม่มีปัญญาจะเลี้ยงดูทารกที่จะเกิดมา  และอื่นๆ  ก็คงไม่สามารถจะทำแท้ง ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

            การทำแท้ง นั้น ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม  หญิงซึ่งมีครรภ์   หรือว่าที่คุณแม่จำเป็น ในอนาคตนั้น  คือบุคคลที่น่าจะได้รับความเห็นใจมากที่สุด   

           แน่นอน  การแก้ปัญหาในสังคมนั้น  เมื่อเกิดการกระทำอะไรที่ทำผิดกฎหมายกันมากๆ  วิธีการหนึ่ง ก็คือ  การทำให้สิ่งที่ผิดกฎหมาย ให้กลายเป็นสิ่งที่ถูกต้องกฎหมาย  ในหลายเรื่อง อาจจะใช้ได้ผล เพราะเมื่อทำเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย  รัฐอาจควบคุมได้  แต่บางเรื่องถ้ามีกันมากจนเลยเถิด  รัฐจะควบคุมได้จริงหรือไม่ เช่นกรณีความคิดที่อยากให้ทำแท้งเสรี

         ความคิดที่อยากให้ทำแท้งเสรี หรือการยกเลิกกฎหมายห้ามทำแท้งนั้น  คงไม่น่าจะเป็นความคิดที่ดีเท่าไรนัก  เพราะอย่างไรก็ตาม ทารกในครรภ์ ก็คือหนึ่งชีวิตที่กำลังจะเกิดขึ้นมาในโลก  การทำแท้ง จึงไม่ต่างอะไรกับการฆ่าคนเลย  ฉะนั้นการห้ามทำแท้ง ก็น่าจะยังคงมีอยู่  เพียงแต่ข้อยกเว้นในเรื่องการทำแท้ง อาจจะมีการพิจารณาปรับปรุงกันได้  เฉกเช่นเรื่อง

         บทบัญญัติในมาตรา 305  ของประมวลกฎหมายอาญาที่เป็นข้อยกเว้นที่ให้ทำแท้งได้นั้น เป็นบทบัญญัติที่บังคับใช้ในสังคมไทย มาเป็นระยะเวลายาวนานมากแล้ว     อาจถึงเวลาแล้วหรือไม่ที่สังคมไทย  อาจจะต้องเปิดช่องให้มีข้อยกเว้นในบางกรณีที่นอกเหนือจากสุขภาพของหญิง  เช่น กรณีสุขภาพของทารกในครรภ์มารดา ที่อาจเกิดมาไม่ครบ 32 ประการ  เพราะถ้าให้เด็กเกิดมาในสภาพที่ไม่พร้อม    คนที่น่าจะเดือดร้อนมากที่สุด ก็คือ เด็กที่จะเกิดมา  นั่นเอง

         อันที่จริงแล้ว  การแก้ไขปัญหาสังคมเช่น กรณีของการทำแท้งนั้น กฎหมายน่าจะเป็นเรื่องของการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุแล้ว  การแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ คือ การสร้างความเข้าใจในเรื่องเพศศึกษาตั้งแต่ต้น ให้กับเยาวชนของชาติทั้งหญิงและชาย   ให้รู้จักการมีเพศสัมพันธ์ในวัยที่พร้อม     และที่สำคัญก็คือ  การสอนหรือเน้นย้ำความเป็นกุลสตรีที่ดี  ให้กับเยาวชน  คุณค่าของการเป็นหญิงไทยที่ดีพร้อม  มากกว่าการหลงไปกับวัฒนธรรมต่างประเทศ  ที่เลยเถิดไปจากแบบแผนอันดีของสังคมไทยในอดีต  อาจเป็นสิ่งสำคัญที่สถาบันการศึกษา  อาจต้องหวนย้อนกลับมาพิจารณากันใหม่   สิ่งที่ดี ในอดีตที่เคยพร่ำสอนกันมาในเรื่องการวางตนของชายและหญิง อาจถึงเวลา ที่ต้องให้เยาวชนของเราต้องตระหนักในเรื่องนี้มากขึ้น