4 วัคซีนสัญชาติไทย ไปถึงไหนแล้ว

 

วัคซีนจุฬาคอฟ-19 เป็นวัคซีนชนิด mRNA จากโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19ของศูนย์วิจัยวัคซีน

คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนับว่ามีความก้าวหน้าไปมาก โดยศาสตราจารย์เกียรติรักรุ่งธรรมผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีน covid 19 ศูนย์วิจัยวัคซีนคณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์เปิดเผยการทดสอบเข็มที่ 1 ในอาสาสมัครทั้ง 2 กลุ่ม คือช่วงอายุ 18 ถึง 55 ปี และช่วง 18- 59 ปี

ปรากฏว่าผลข้างเคียงส่วนใหญ่อยู่ที่เล็กน้อยถึงปานกลางคือมีไข้หนาวสั่นปวดกล้ามเนื้ออ่อนเพลียซึ่งอาการเหล่านี้จะดีขึ้นใน1-2 วันไม่พบผลข้างเคียงที่รุนแรง ส่วนประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อไวรัส Covid กลายพันธุ์ ผลจากห้องปฏิบัติการ สวทช ที่ใช้เลือดของหนูและลิงฉีดวัคซีนมาทำการทดลองพบว่าภูมิคุ้มกันขึ้นสูง 

โดยเฉพาะเชื้อสายพันธุ์เดลต้าก็สามารถป้องกันได้ดียิ่งใช้โดสสูงแม้ว่าภูมิคุ้มกันตกก็ยังถือว่าเป็นภูมิที่สูงและสามารถป้องกันได้บ่ได้ ขณะเดียวกันระหว่างการทดลองได้มีการเตรียมโรงงานในประเทศไทยคือไบโอเนทเอเชียพันธมิตรของจุฬาฯ 

เพื่อผลิตวัคซีนหากผลการทดลองประสบความสำเร็จพร้อมเริ่มผลิตเร็วสุดช่วงต้นเดือนธันวาคมนี้อีกวัคซีนหนึ่งที่มีความก้าวหน้าไปมากคือวัคซีนป้องกัน covid 19 แบบพ่นจมูก โดยผู้อำนวยการหน่วยวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติหรือไบโอเทค สวทช เปิดเผยการทดลองในหนูชนิดพิเศษ 

 

พบว่าวัคซีนแบบพ่นจมูกเมื่อเปรียบเทียบกับวัคซีนที่ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ 2 เข็ม

จะเห็นว่าวัคซีนแบบพ่นจมูกมีคุณสมบัติในการป้องกันได้การไม่ฉีดอะไรเลยการใช้แบบพ่นจมูกอาจเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการป้องกันเชื้อไวรัสต่างๆเข้าสู่ร่างกายทั้งส่วนบนและส่วนล่างได้พร้อมขึ้นทะเบียนอยพร้อมทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 คาดว่าน่าจะใช้ได้ในช่วงต้นปี 2556

ด้านการพัฒนาวัคซีน HXP-GPOVac เภสัชกรหญิง พรทิพย์ วิรัชวงศ์ หัวหน้าโครงการวัคซีน covid 19 องค์การเภสัชกรรมบอกว่าผลการทดลองในอาสาสมัคร 210 คน หลังฉีดวัคซีนไปแล้ว 2 เข็ม ห่างกัน 28 วัน พบว่าในเรื่องของความปลอดภัย อาการไม่พึงประสงค์มีระดับความรุนแรงค่อนข้างต่ำเช่นปวดตึงบวมบริเวณที่ฉีดปวดเมื่อยกล้ามเนื้อปวดศีรษะอาการเหล่านี้จะหายไปภายในเวลาไม่กี่วัน

ส่วนการกระตุ้นภูมิคุ้มกันหลัง 2 สัปดาห์ที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 ระดับภูมิคุ้มกันจะสูงโดยขนาด 10 ไมโครกรัม จะได้ผลดีที่สุด ส่วนภูมิคุ้มกันต่อไวรัสสายพันธุ์ต่างๆเรียงลำดับจากภูมิได้มากไปหาน้อย

ซึ่งภูมิที่ได้มากที่สุด ได้แก่สายพันธุ์อู่ฮั่นรองลงมาคืออัลฟาเดลต้าและเบต้าตอนนี้กำลังศึกษาวิจัยในคลินิกในระยะที่ 2 ในอาสาสมัคร 250 คน คาดว่าน่าจะได้ทราบผลปลายปีนี้และภายในเดือนกรกฎาคม 2565 จะยื่นใบอนุญาตขอใช้แบบมีเงื่อนไข

นอกจากนี้การผลิตวัคซีนใบยาด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์เภสัชกรหญิงสุธีรา เตชคุณวุฒิประธานกรรมการบริหารบริษัทไปรยาไฟโตฟาร์มจำกัดบอกว่าได้เริ่มทดสอบในมนุษย์กลุ่มแรกแล้วเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2564 ที่ผ่านมาในอาสาสมัคร 4 คนแรกและได้ฉีดในกลุ่มอาสาสมัครที่เหลือ

 

สนับสนุนเรื่องราวโดย.  gclub slot ทดลองเล่น

You may also like