การดูแลผิวในสถานการณ์ PM 2.5

PM 2.5 (Particulate Matter) หรือฝุ่นละอองขนาดเล็ก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมลพิษที่ลอยอยู่ในอากาศ (Airborne Particulate Matter Pollution) มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่เมื่อฝุ่นจำพวกนี้มารวมตัวกันเป็นจำนวนมาก จะทำให้มองเห็นเป็นลักษณะคล้ายกับหมอกจาง ๆ PM 2.5 หรือฝุ่นละอองขนาดเล็กนี้เป็นสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

โดยที่ประเทศไทยเรามีค่ามลภาวะทางอากาศสูงเป็นอับดับต้น ๆของโลก จึงทำให้มีผู้คนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากทำให้เกิดผลเสียเมื่อได้รับ PM 2.5 หรือฝุ่นละอองขนาดเล็กสะสมเข้าไปในร่างกายเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายโดยตรงต่อร่างกาย เมื่อสูด PM 2.5 หรือฝุ่นละอองขนาดเล็กเหล่านี้เข้าไป ด้วยอนุภาคที่มีขนาดเล็กของมัน ขนจมูกจึงไม่สามารถทำหน้าที่กรองได้ ทำให้สามารถผ่านเข้าสู่ร่างกายได้อย่างง่ายดาย โดยผ่านเข้าทางโพรงจมูก เข้าสู่ถุงลม และปอดโดยตรง

สามารถแทรกซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ และเข้าไปรบกวนกระบวนการทำงานของระบบอวัยวะในร่างกาย ด้วยเหตุนี้จะส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ อาทิ เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดอาการไอ จามหรือสามารถเกิดโรคภูมิแพ้ได้อย่างฉับพลัน และจะกระตุ้นผู้ที่มีอาการภูมิแพ้อยู่แล้ว ให้เกิดโรคทางเดินหายใจเรื้อรังได้ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมอง สามารถมีอาการกำเริบรุนแรงได้มากกว่าปกติ โรคเยื่อบุตาอักเสบหรืออาการตาแดง และยังมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคปอดเรื้อรัง หรือมะเร็งปอดได้ เนื่องจาก PM 2.5 หรือฝุ่นละอองขนาดเล็ก

ประกอบไปด้วยสารก่อให้เกิดมะเร็งมากมาย อาทิ เช่น สารปรอท แคดเมียม โลหะหนัก ฯลฯ นอกจากนี้ PM 2.5 หรือฝุ่นละอองขนาดเล็ก สามารถสร้างความเสียหายต่อประสิทธิภาพด้านการคิด และสติปัญญา ในผู้ใหญ่เพิ่มความเสี่ยงให้เป็นโรคความเสื่อมถอยต่าง ๆ ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์หรือภาวะสมองเสื่อมเพิ่มมากขึ้นถึง 3 เท่า

และทำให้เกิดโรคพาร์กินสันได้ถึง 34% เพิ่มความเสี่ยงของโรคเส้นเลือดสมองประมาณ 13% รวมทั้งยังทำให้สมองส่วนเนื้อขาวเกิดการฝ่อหรือเหี่ยวลงมากกว่าคนปกติ ในส่วนของเด็กจะทำให้มีความผิดปกติทางด้านพัฒนาการทางสติปัญญา สติปัญญาด้อยลง การพัฒนาการช้าลง มีปัญหาทางการได้ยิน และการพูด ภาวะสมาธิสั้นในเด็ก และภาวะออทิซึม
สาเหตุที่ทำให้เกิด PM 2.5 หรือฝุ่นละอองขนาดเล็ก ส่วนใหญ่เกิดจากการปล่อยควันเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ควัน และฝุ่นจากการเผาไหม้ในที่โล่ง การเผาป่า การเผาขยะ การเผาไหม้เชื้อเพลิง ควันพิษจากการจราจร และการคมนาคม การที่มีจำนวนรถยนต์เพิ่มขึ้น ทำให้ยิ่งเพิมควันจากท่อไอเสียที่เป็นสาเหตุหลักของการเกิด PM 2.5 หรือฝุ่นละอองขนาดเล็ก

รวมไปถึงฝุ่นละอองจากการก่อสร้างต่าง ๆ ดังนั้นกรุงเทพมหานครจึงเป็นจังหวัดที่มีค่ามลภาวะทางอากาศ PM 2.5 หรือฝุ่นละอองขนาดเล็กเยอะมากกว่าจังหวัดอื่น ๆในประเทศไทย เพราะมีจุดที่มีการก่อสร้างเยอะมากที่สุด และมีการจราจร และการคมนาคมที่ติดขัด เนื่องจากความหนาแน่นของประชากรผู้ใช้รถใช้ถนนที่เพิ่มมากขึ้น

PM 2.5 หรือฝุ่นละอองขนาดเล็ก มีขนาดเล็กกว่ารูขุมขนถึง 20 เท่า จึงสามารถซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ง่าย สามารถทำลายเซลล์ผิวหนังชั้นนอกหรือชั้นหนังกำพร้า และทำลายโปรตีน Fila grin ที่มีหน้าที่ป้องกันผิวหนัง และเมื่อได้รับ PM 2.5 หรือฝุ่นละอองขนาดเล็กเข้าไปเป็นระยะเวลานาน จะกระตุ้นให้เกิดอนุมูลอิสระรบกวนการทำงานของเซลล์ผิว ทำให้ผิวเสื่อมเร็วกว่าปกติ และทำลาย Collagen

ทำให้ผิวเหี่ยวย่น เกิดริ้วรอยก่อนวัยอันควร กระตุ้นให้ผิวผลิตเม็ดสีเร็วขึ้นกว่าปกติ ทำให้เป็นสาเหตุของการเกิดฝ้า กระ และจุดด่างดำ สำหรับผู้ที่มีผิวหน้ามัน จะทำให้เกิดการอุดตันของรูขุมขนก่อให้เกิดสิวรวมถึงผู้ที่มีสภาพผิวแพ้ง่าย จะทำให้เกิดผื่น ผิวหนังอักเสบ มีอาการแดง คัน ระคายเคืองผิว  

 

 

สนับสนุนโดย  ระบบฝากถอนเงิน Gclub

You may also like