GSP คืออะไร?

GSP คืออะไร?

จากที่มีข่าวประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประกาศตัดสิทธิ GSP สินค้าของไทยจำนวน 573 ราย

ทำให้ผู้คนออกมาแสดงความคิดเห็นโต้แย้งกันเป็นจำนวนมากบนโซเชียลไม่ว่าจะเป็นบนเฟซบุ๊กหรือแม้กระทั่งในทวิตเตอร์ แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่สงสัยว่า GSP คืออะไร?? GSP หรือย่อมาจาก (General of Systemof Preferences) คือ “

สิทธิพิเศษที่ทางภาษีศุลกากรที่ประเทศพัฒนาแล้วมีให้กับประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนา โดยลดภาษีสินค้านำเข้าให้” คือไม่ต้องเสียภาษีสินค้านำเข้าบางรายการเพื่อให้สินค้าที่นำเข้ามาจากประเทศที่กำลังพัฒนาและด้อยพัฒนาสามารถส่งออกไปแข่งขันกันกับสินค้าจากประเทศที่พัฒนาแล้วได้

นอกจากนี้การให้สิทธิ GSP คือเป็นการให้แบบฝ่ายเดียว ประเทศที่ให้สิทธิ GSP ไม่ได้เรียกร้องผลประโยชน์อะไรเลยจากปรเทศผู้รับ แต่สิทธิการให้ GSP นั้นต้องมีเงื่อนไขตามเกณฑ์ที่ประเทศผู้ให้วางกำหนดไว้ คือ

ประเทศที่สามารถรับสิทธิ GSP จากประเทศสหรัฐอเมริกาได้นั้นต้องมีรายได้ของประชากนต่อคนประมาณไม่เกิน 3.7 แสนบาท

โดยเฉลี่ยล่าสุดในปี 2018 รายได้ของประชากรในไทยอยู่ที่ประมาณ 1.8 แสนบาท และนอกจากนีประเทศสหรัฐยังมีเงื่อนไขอีกว่าต้องมีการคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา สามารถคุ้มครองแรงงานตามมาตรฐานสากลที่ให้นานาชาติรองรับได้
และต้องให้ความร่วมมือกับประเทศสหรัฐอเมริกาในการต่อต้านก่อการร้ายอีกด้วย

พูดถึงการโดนตัดสิทธิ GSP นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ไทยโดน เพราะปี 2558

ประเทศไทยก็เคยโดนตัดสิทธิมาแล้วจากสหภาพยุโรป แคนนาดา ตุรกี และเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.2562 ที่ผ่านมา

ประเทศไทยก็โดนตัดสิทธิ GSP จากประเทศญี่ปุ่นด้วย จากผลกระทบที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ทำการตัดสิทธิ GSPจะทำให้สินค้าของประเทศไทยที่ได้ทำการส่งออกไปยังประเทศสหรัฐอมเริกา

 

จะต้องเสียภาษีนำเข้าซึ่งจากเดิมไม่ต้องเสียภาษี โดยจะเสียภาษีเฉลี่ยที่ประมาณร้อยละ 4-5 ซึ่งภาระของภาษีแต่ละปี เมื่อลองคำนวณดูแล้วอยู่ที่ประมาณ 1,500-1,800 ล้านบาท ส่งผลกระทบสินค้าของไทยทั้งหมด 573 รายการ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นประเภทของกิน ของใช้ ผักและผลไม้น้ำผัก น้ำผลไม้ อาหารทะเล น้ำตาล น้ำเชื่อม ซอสถั่วเหลือง ไปจนอุปกรณ์เครื่องครัว ประตูหน้าต่าง
พวกไม้อัด ไม้แปรรูป จานชาม เครื่องประดับ เหล็ก สแตนเลส และอื่นๆ

โดยรวมแล้วนับเป็นมูลค่าเงินอยู่ที่ประมาณ 4 หมื่นล้านบาท การโดนตัดสิทธิ GPS จากประเทศสหรัฐอมเริกาในครั้งนี้ จะมีผลจริงจังอีกภายใน 6 เดือนข้างหน้า

 

ขอขอบคุณแหล่งที่มาจาก สื่อต่างๆและห้องสมุดที่ให้ความรู้ในเรื่องนี้

Continue Reading